กากมะพร้าวสับ ประโยชน์มากมาย

วัสดูปลูกหาง่าย ราคาถูก

มะพร้าวสับ 3 อย่าง

ถ้าจะให้พูดถึงวัสดุในการปลูกไม้แล้ว กากมะพร้าวสับ ดูว่าจะเป็นสิ่งที่หลายๆ คนจดจำได้เป็นอย่างดี เพราะเป็นวัสดุปลูกที่หาง่าย และราคาประหยัด สามารถนำไปใช้งานได้หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นวัสดุรองก้นกระถาง (คนปลูกแคคตัสก็ชอบ) นอกจากนี้ ยังสามารถนำไปใช้เพาะปลูกได้โดยตรง

กากมะพร้าว เป็นส่วนของเปลือกของลูกมะพร้าวที่แห้ง นำมาสับเป็นขนาดต่างๆ 
มีคุณสมบัติช่วยรักษาความชื้นและทำให้ดินโปร่งมากขึ้น


ประเภทของกากมะพร้าวสับ

ในท้องตลาดจะมีการขายกากมะพร้าวสับหลาบแบบ ดังนี้

  • ขุยมะพร้าว
  • กากมะพร้าวสับละเอียด (ขนาดประมาณลูกเต๋า)
  • กากมะพร้าวสับแบบหยาบ ขนาดใหญ่กว่าแบบสับละเอียด


ขุยมะพร้าว คืออะไร

ขุยมะพร้าว

เป็นส่วนของกากมะพร้าวที่มีการนำไปสกัดจนได้ที่ความละเอียดเป็นผงสีน้ำตาล และมีการนำเส้นใยมะพร้าวออก เหมาะสำหรับนำมาใช้สำหรับการเพาะหรือชำ รวมทั้งนำไปใช้เป็นวัสดุในการตอนกิ่ง (ส่วนตัวก็ใช้ขุยมะพร้าวเช่นกัน) โดยขุยมะพร้าว จะมีคุณสมบัติในการอุ้มน้ำ หรือกักเก็บน้ำได้ดีมาก บางคนก็ใช้ทดแทนการใช้พีชมอส เพื่อเพาะกล้าไม้ ซึ่งพีชมอสมีราคาสูงกว่าขุยมะพร้าวมาก

นอกจากนี้ ขุยมะพร้าวยังมีประโยชน์ในการนำไปใช้ผสมทำปุ๋ยหมัก หรือทำน้ำหมักชีวภาพ

กากมะพร้าวสับละเอียด คืออะไร

มะพร้าวสับละเอียด

ส่วนของกากมะพร้าว นำมาตากแห้ง และสับให้มีขนาดประมาณ 1-2 เซนติเมตร  เหมาะสำหรับการใช้รองก้นกระถางขนาดเล็ก โดยเฉพาะผู้ปลูกแคคตัสหรือกระบองเพชร สามารถใช้ทดแทนหินภูเขาไฟขนาดใหญ่ ซึ่งบางคน มีการนำไปใช้สำหรับรองกันกระถางเช่นกัน แต่มีราคาสูงกว่ามาก  บางคนก็นำกากมะพร้าวสับละเอียด ไปผสมดิน เพื่อเพิ่มในเรื่องของการระบายได้เช่นกัน 

นอกจากนี้ บางคนก็นำกากมะพร้าวสับละเอียด มาโรยหน้าดิน เพื่อช่วยรักษาความชื้นให้ระเหยช้าลง


กากมะพร้าวสับแบบหยาบ คืออะไร

กากมะพร้าวสับแบบหยาบ

ส่วนเปลือกของลูกมะพร้าวที่นำมาตากแห้ง และสับให้มีขนาดใหญ่กว่าปกติ เหมาะสำหรับการใช้รองก้นหลุม สำหรับการปลูกไม้ขนาดใหญ่ หรืออาจนำไปโรยหน้าดิน เพื่อรักษาความชื้นของดิน
 

คำแนะนำก่อนใช้มะพร้าวสับ

ควรนำไปแช่น้ำ เพื่อทำความสะอาดอย่างน้อยสัก 3-4 วันก่อนการใช้งาน ช่วยลดสารเคมีที่อยู่ภายใน เพราะในกากมะพร้าวสับ จะมีสารเคมีที่ชื่อว่า แทนนิน (Tannin) ซึ่งพอโดนน้ำจะทำให้เกิดเป็นกรด ส่งผลเสียกับการเจริญเติบโตของไม้

Post a Comment

ใส่คำแนะนำในส่วนนี้ได้เลยค่ะ

ใหม่กว่า เก่ากว่า

Recent Posts