ส่วนตัวหลังจากที่ได้เห็นมะพร้าวทะเลทรายครั้งแรก ก็รู้สึกหลงรักและเห็นถึงความน่ารักน่าชัง ของไม้ประเภทนี้ สืบเนื่องด้วยเป็นไม้ที่มีลักษณะและลำต้นและใบ คล้ายต้นมะพร้าวในประเทศเรา ขนาดไม่ใหญ่นัก สามารถปลูกในกระถางได้อย่างสบาย และถ้ายิ่งเจริญเติบโต จะมีลักษณะการแตกยอด แตกกิ่งก้าน แตกต่างกัน ทำให้เป็นไม้ที่ให้น่าลุ้นอีกด้วย
ต้นมะพร้าวทะเลทรายใบด่าง
อีกหนึ่งความผิดปกติของใบ ที่มีลักษณะด่างเขียวขาวหรือเหลือง ทำให้ดูเป็นไม้ที่ "มีอะไร" มากกว่าปกติ คนไทยก็ชอบไม้ที่มีลักษณะด่าง ไม่ว่าจะเป็นไม้ประเภทไหน ทำให้ราคาของไม้ด่าง แพงกว่าปกติ
วิธีขยายพันธุ์มะพร้าวทะเลทรายใบด่าง
ต้นมะพร้าวทะเลทรายไม่ว่าจะใบเขียวหรือใบด่าง จะมีวิธีการในการเพาะขยายพันธุ์ ไม่ต่างกัน แต่ขึ้นชื่อว่าใบด่าง ซึ่งถือว่าเป็นไม้ผิดปกติ ทำให้เป็นไม้ที่มีอัตราการเจริญเติบโตช้า และอัตราการรอดเมื่อเพาะด้วยเมล็ดน้อยกว่าเช่นกัน
วัสดุในการปลูกต้นมะพร้าวทะเลทรายใบด่าง การเพาะเมล็ด แนะนำให้ใช้พีชมอสล้วนๆ ในช่วงแรก หลังจากที่น้องเจริญเติบโต จึงค่อยเปลี่ยนดิน
จากประสบการณ์ในการเพาะเมล็ดต้นมะพร้าวทะเลทรายใบด่าง สามารถเจริญเติบโตได้ แต่เมื่อต้นโตได้สักหน่อย ก็มีปัญหาซึ่งไม่ทราบเหมือนกันว่า เป็นเพราะอะไร ทำให้น้องไปสวรรค์หลายต้น ทั้งๆ ที่การให้น้ำ ให้ปุ๋ย ก็ให้เช่นเดียวกับต้นมะพร้าวทะเลทรายใบเขียว แต่พอสรุปคร่าวๆ ว่า หลังการเพาะเมล็ด จะใชเ้วลาประมาณ 1-3 อาทิตย์ ทั้งนี้ ขึ้นกับความสมบูรณ์ของเมล็ด
การให้น้ำ ช่วงแรกก่อนเมล็ดออกราก ระวังอย่าให้ดินแห้ง หรือขาดน้ำ เพราะจะทำให้น้องไม่สามารถเจริญเติบโตได้ การวางกระถางเพาะเมล็ด แนะนำให้ว่างในที่ร่ม มีแสงส่องถึง แต่ไม่ควรให้โดยแดดโดยตรง
หลังจากเจริญเติบโต จนกระทั่งออกใบจริงแล้ว ก็อย่าเพิ่งชะล่าใจ เพราะอัตราการตายก็ยังมีเช่นกัน ดังนั้น การเลี้ยง ควรระวังอย่าให้ดินแห้ง และควรเปลี่ยนดินจากพีชมอส มาเป็นดินร่วนปนทรายที่มีการระบายน้ำได้ดี วางในที่มีแสงรำไรจะดีที่สุด
หวังว่า จากประสบการณ์ข้างต้น คงพอจะให้หลายๆ คนที่กำลังสนใจ อยากจะปลูก ต้นมะพร้าวทะเลทรายใบด่าง โดยการเพาะเมล็ด ได้มีแนวทางการเพาะปลูก แต่ถ้าต้องการแบบชัวร์ แนะนำให้ไปหาซื้อได้ตามร้านต้นไม้ทั่วไป ซึ่งอาจหายากสักหน่อย ส่วนในระบบออนไลน์ ก็พอหาได้บ้างเช่นกัน
ข้อควรทราบเกี่ยวกับไม้ด่าง
มะพร้าวทะเลทรายใบด่าง ยิ่งใบมีความด่าง (ที่ไม่เขียว) มากเท่าไหร่ อัตราการเจริญเติบโต และอัตราการรอดในการปลูก ก็อาจจะน้องลงไปด้วยเช่นกัน ด้วยเหตุผลง่ายๆ คือ สารสีเขียวน้อย ทำให้ระบบการสังเคราะห์แสงน้อยลง
إرسال تعليق
ใส่คำแนะนำในส่วนนี้ได้เลยค่ะ