ต้นหูกวาง

ไม้ร่ม แต่ปลากัดชอบ

ต้นหูกวางอีกหนึ่งไม้ยืนต้นขนาดใหญ่ ประเภทไม้ผลัดใบ ที่มีขนาดสูงได้มากขึ้น 25 เมตร ใบเป็นใบเดี่ยว ขนาดใหญ่คล้ายรูปไข่ ออกสลับถี่ตอนปลายของกิ่ง ดอกออกเป็นช่อ ตามซอกใบ มีสีขาวนวล ผลเป็นรูปไข่คล้ายเมล็ดอัลมอนด์ มีขนาด 2-5 เซนติเมตร มีสีเชียวเมื่อแห้งมีสีดำคล้ำ


ต้นหูกวาง เป็นไม้มากจากแถบทวีปอินเดีย เอเชียอาคเนย์ เป็นไม้ที่พบได้ตามชาดหาด หรือป่าตามชายหาด เหตุเพราะเป็นไม้ที่เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย

ต้นหูกวาง เป็นไม้มงคลพระราชทานประจำจังหวัดตราด และมหาวิทยาลัยสยาม 

ประโยชน์ของต้นหูกวางในทางสมุนไพร

  • เปลือกและผล ใช้รักษาแก้อาการท้องเสีย
  • ใบ มี "สารแทนนิน" ช่วยปรับสภาพน้ำให้มีความเป็นกรด-ด่างที่สูงขึ้น ทำให้เหมาะสำหรับการนำใบ "แห้ง" ไปแช่ในน้ำเพื่อปรับสภาพน้ำ เพื่อให้ปลาสามารถเจริญเติบโตได้ดี โดยเฉพาะ ปลากัด ซึ่งเป็นปลาที่มาจากแหล่งน้ำที่มีความเป็นกรดสูง นอกจากนี้ ยังมีสารช่วยยับยั้งเชื้อราและแบตทีเรียได้เป็นอย่างดี รวมทั้งรักษาอาการบาดเจ็บของปลาได้ด้วย
  • ใบ ใช้ย้อมหนังสัตว์ การผลิตหมึกสี รวมทั้งการผลิตสีดำ
  • เปลือกและใบนำมาบด พอกแผล ช่วยสมานแผลให้หายเร็วขึ้น 
  • เมล็ด รับประทานได้ ช่วยบำรุงเลือด บำรุงหัวใจ
  • เนื้อไม้ นำมาทำเฟอร์นิเจอร์ เครื่องดนตรี 

ชื่อเรียกอื่นๆ ของต้นหูกวางตามแต่ละจังหวัด หรือแต่ละท้องถิ่น  ได้แก่ ตาปัง ตัดมือ ตาแปห์ หลุมปัง  และโคน เป็นต้น

ใบหูกวาง

วิธีการปลูกต้นหูกวาง

แนะนำให้ปลูกลงดิน เพราะเป็นไม้ใหญ่ สามารถปลูกและเจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนปนทราย ส่วนปุ๋ยในการเปลูกระยะเริ่มต้น แนะนำให้ใช้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก หลังจากต้นหูกวางเจริญเติบโต ก็จะสามารถหาอาหาารเลี้ยงต้นได้เอง ทั้งนี้ ขึ้นกับสภาพแวดล้อมบริเวณนั้นๆ 

วิธีการขยายพันธุ์ต้นหูกวาง

สามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการเพาะจากเมล็ด เมล็ดควรตากให้แห้งและนำมาแช่น้ำสัก 3-5 วัน ก่อนนำไปปลูก  นอกจากนี้ ยังสามารถขยายพันธุ์ได้ด้วยการปักชำ และตอนกิ่ง

Post a Comment

ใส่คำแนะนำในส่วนนี้ได้เลยค่ะ

أحدث أقدم

Recent Posts