ไม้แปลก แต่สวยงามมาก
ความสวยงามอย่างโดดเด่นของ "ต้นพญานาคราช" (นาคราชผู้ หรือตัวผู้) อาจทำให้หลายๆ คน "หลงใหล" แต่ก็อาจทำให้ใครหลายคนกลัว ซึ่งอาจเป็นเพราะลักษณะของลำต้นที่มีลักษณะคล้าย "เกล็ดงู" ก็เป็นได้ และด้วยลักษณะดังกล่าว ทำให้บางคนเชื่อว่า ถ้าปลูกต้นพญานาคราช งูจะไม่เข้าบ้านความเชื่ออีกอย่างของผู้ปลูกต้นพญานาคราช คือ ช่วยเรียกเงิน เรียกทอง และช่วยเสริมบารมีให้เจ้าของ
ลักษณะของต้นพญานาคราช
เป็นพืชในตระกูลกระบองเพชร ลำต้นยางทรงรูปกระบอก เส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 2.5 - 4 เซนติเมตร รอบลำต้นมีตา รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน มีหนามเล็กๆ ใบมีลักษณะคล้ายใบพายไม่มีก้านใบ ดอกจะออกเมื่อต้นมีอายุมาก หรือแก่แล้ว เท่านั้น และมีความเชื่ออีกว่า ถ้าต้นพญานาคราชออกดอกเมื่อไหร่ เจ้าของมีโชคลาภเข้ามา
ดอกของต้นพญานาคราช
วิธีปลูกต้นพญานาคราช
สามารถปลูกได้ในดินทั่วไปได้ โดยเฉพาะดินใบก้ามปู เน้นกาบมะพร้าวสับ และดินควรโปร่ง เหมาะสำหรับการปลูกในกระถางแบบห้อย เพื่อให้เวลาเติบโต กิ่งก้านจะห้อยและย้อยลงมา คล้ายกับงูหรือพญานาค แต่ถ้าปลูกในระยะแรกๆ หรือขนาดต้นยังเล็กอยู่ ลำต้นก็จะชี้ฟ้าเช่นเดียวกับต้นไม้ทั่วไปเคล็ดไม่ลับ เหตุผลที่ต้นพญานาคราชเป็น "สีแดง" ต้นพญานาคราช สามารถปลูกให้โดนแดด 100 หรือแดดรำไรได้ แต่ถ้าปลูกและโดนแดดจัด ใบจะเปลี่ยนจาก สีเขียว เป็น สีแดง
ข้อควรระวังในการปลูกต้นพญานาคราช ก็คือ โรคเน่า ซึ่งปัญหาหลักมาจากน้ำ โดยเฉพาะปัญหาในช่วงหน้าฝน ต้องพยายามไม่ให้มีน้ำขัง ดังนั้น การปลูกในลักษณะของกระถางห้อย น่าจะเป็นคำตอบที่ดีมากสำหรับการปลูกต้นพญานาคราช
เท่าที่เห็นในตลาดต้นไม้ ต้นพญานาคราชมีทั้งแบบสีเขียวตลอดต้น และแบบต้นด่าง
วิธีขยายพันธุ์ของต้นพญานาคราชสามารถทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการ ปักชำ หรือการแยกหน่อจากต้นหลัก แนะนำว่า ให้รอแผลแห้งก่อนการปักชำ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันโรคเน่า หรือรา ถ้าใจร้อนก็อาจใช้ยากันราพ่นก่อนการปลูกได้เช่นกัน
ข้อควรระวังในการปลูกต้นพญานาคราช ก็คือ โรคเน่า ซึ่งปัญหาหลักมาจากน้ำ โดยเฉพาะปัญหาในช่วงหน้าฝน ต้องพยายามไม่ให้มีน้ำขัง ดังนั้น การปลูกในลักษณะของกระถางห้อย น่าจะเป็นคำตอบที่ดีมากสำหรับการปลูกต้นพญานาคราช
ชื่ออื่นๆ ของต้นพญานาคราช ได้แก่ ว่านนาคราช เนระพูสี นาคราชใบหยาบ
เท่าที่เห็นในตลาดต้นไม้ ต้นพญานาคราชมีทั้งแบบสีเขียวตลอดต้น และแบบต้นด่าง
วิธีขยายพันธุ์ต้นพญานาคราช
สายพันธุ์: ยูโฟเบีย (Euphorbia)
แสดงความคิดเห็น
ใส่คำแนะนำในส่วนนี้ได้เลยค่ะ