มัลเบอร์รี่ ผลไม้มหัศจรรย์

มาปลูกมัลเบอร์รี่กัน

ต้นมัลเบอรี่มัลเบอร์รี่ (Mulberry) หรือ หม่อน เป็นต้นไม้อีกประเภทหนึ่งที่มีความมหัศจรรย์ ที่ว่ามหัศจรรย์ นั่นมาจากประโยชน์ที่ได้รับไม่ว่าจะเป็นใบหม่อน ที่สามารถทำเป็นชา หรือนำไปเลี้ยงไหม ส่วนผลหม่อน ที่เราเรียกว่า มัลเบอร์รี่ มีประสรรพคุณมากมายที่หลายๆ คนให้ความสนใจ

สำหรับผลมัลเบอร์รี่ มีขนาดเล็กมีรสหวานอมเปรี้ยว  ถ้าสีออกเข้มหรือดำ จะมีรสหมาย ถ้าสีออกแดงจะมีรสเปรี้ยว ผลสามารถนำไปขั้นเป็นน้ำเพื่อรับประทาน ชื่นใจมากจริงๆ แก้กระหายน้ำ และชุ่มคอมากๆ

ต้นมัลเบอร์รี่

ประโยชน์ของผลมัลเบอร์รี่ที่น่าสนใจ

  • มีวิตามินซีสูง แก้หวัด ภูมิแพ้
  • แก้ธาตุไม่ปกติ
  • บำรุงสายตา
  • แก้อาการท้องผูก เป็นยาระบายอ่อนๆ 
  • แก้ปวดตามไขข้อ
  • บำรุงเส้นผมให้ดกดำ
  • บำรุงหัวใจ
  • ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
  • ลดคอเรสเตอรอล
  • มีสารต้านอนุมูลอิสระ
  • อื่นๆ อีกมากมาย
แค่ประโยชน์บางส่วนข้างต้น ก็แทบไม่ต้องบอกเลยว่า มัลเบอร์รี่น่าปลูกขนาดไหน ใครมีพื้นที่น้อยก็ไม่ต้องกังวล สามารถปลูกลงในกระถางขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 12 นิ้วขึ้นไป ถ้าเล็กไปอาจให้ผลผลิตไม่มาก


วิธีลือกซื้อต้นมัลเบอร์รี่

ต้นมัลเบอร์รี่

แนะนำว่า ถ้าต้องการปลูกต้นมัลเบอร์รี่ต้องบอกผู้ขายให้ชัดเจนว่า ต้องการรับประทานผลหรือใบ ถ้ารับประทานผล ใบของต้นมัลเบอร์รี่จะมีขนาดเล็กกว่า ซึ่งมีขนาดประมาณฝ่ามือเด็ก นอกจากนี้ สายพันธุ์มัลเบอร์รี่ยังมีหลากหลาย แต่ส่วนตัวแล้วได้ทดลองปลูกมัลเบอร์รี่ สายพันธุ์เชียงใหม่ ซึ่งก็ให้ผลเป็นที่น่าพอใจ ปลูกง่าย ไม่ต้นดูแลอะรไมาก ใส่ปุ๋ยเดือนละครั้ง รดน้ำวันละครั้ง หรือถ้าลืมก็สองสามวันครั้งก็ได้ แต่ถ้าฝนตกก็สบาย ไม่ตกรด

การเลือกซื้อต้นมัลเบอร์รี่ ให้ดูที่ลำต้นเป็นหลัก ส่วนใหญ่ผู้ขายก็จะตอนเป็นกิ่งๆ ให้เลือกกิ่งที่ใหญ่ไว้ก่อน เพราะลำต้นจะแข็งแรง สามารถปลูกและให้ผลได้ทันที

การดูแลต้นมัลเบอร์รี่

ปกติก็ใส่ปุ๋ยคอกเดือนละครั้ง รดน้ำบ้างถ้าเห็นว่าดินแห้ง ต้นมัลเบอร์รี่ไม่ต้องรดน้ำมาก แต่ที่สำคัญหรือการติดกิ้งที่จะสูงและโตเร็วมาก กิ่งตัด ยิ่งได้กิ่งย่อย และให้ผลมากขึ้น

ระวัง นกที่ชอบมาแอบกินผลมัลเบอร์รี่ เพราะแม้กระทั่งนกยังทราบว่า มัลเบอร์รี่มีประโยชน์ขนาดไหน แล้วเราหล่ะ จะไม่ลองหาซื้อต้นมัลเบอร์รี่มาปลูกกันหรือครับ สนนราคาก็ไม่แพง ขึ้นกับขนาดของต้น ยิ่งใหญ่ก็แพงหน่อย อยู่ที่หลักร้อยบาทครับ

Post a Comment

ใส่คำแนะนำในส่วนนี้ได้เลยค่ะ

ใหม่กว่า เก่ากว่า

Recent Posts