วิธีปลูกสับปะรดในกระถาง

สับปะรด ผลไม้ช่ำน้ำ


คุณทราบหรือไม่ว่า ผลไม้ธรรมดาอย่างสับปะรด หากินได้ทั่วไป รสชาดหวานหอม มีคุณค่าและประโยชน์มากมาย อาทิเช่น แคลเซียม, ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม, ฟอสฟอรัส, โพแทสเซียม, โซเดียม 1 มิลลิกรัม, สังกะสี, วิตามินซี และ วิตามินเอ เป็นต้น รู้แล้วอย่างนี้ สนใจจะลองมาปลูกสับปะรดกันสักต้น สองต้นไหม

อ้อลืมบอกไป คนส่วนใหญ่มักทานแต่เนื้อ แต่ทราบหรือไม่ว่า ส่วนแกนกลางของสับปะรด ยิ่งมีประโยชน์มากกว่าเนื้ออีกนะครับ ไม่ว่าจะช่วยย่อยอาหาร สมานแผล ช่วยขับถ่าย ลดอาการปวดข้อด้วย สารพัดประโยชน์เลยจริงนะเจ้าสับปะรด คราวนี้ ใครจะมาเจ้าไม่ได้แล้วนะว่า ไม่เป็นสับปะรด

ส่วนไหนของสับปะรดเอาไว้ปลูก

ต้นสับปะรด

คุณอาจไม่เชื่อว่า เจ้า จุกสับปะรด ที่เห็นที่ร้านหั่นทิ้งเป็นประจำ สามารถนำมาปลูกได้ ซึ่งมีวิธีการเลือกก็คือ จุกต้องไม่ช้ำ ไม่มีใบเหลือง และที่สำคัญ ควรเลือกพันธุ์ที่เราชอบรับประทาน  ส่วนตัวชอบสับปะรดพันธุ์ภูแล ลูกเล็ก หวานกรอบ อร่อยมากๆ ครับ

เตรียมตัวก่อนปลูกสับปะรด

ต้นสับปะรด

  1. เตรียมกระถางขนาดใหญ่กว่า จุกสับประรด
  2. ดิน + ปุ๋ยคอก 
  3. จุกสับปะรด (แนะนำให้ปลูก 2-3 จุก เพื่อกันความผิดพลาด) โดยไม่ขอจากแม่ค้าที่ตลาดผลไม้ หรือจะซื้อยกหัวพร้อมจุกมาก็ได้
เมื่อพร้อมแล้ว ก็ตัดจุกสับปะรด เนื้อเอาไปทาน ส่วนจุกใช้มีดเล็มโคน จากนั้นก็นำไปปลูกลงดินได้เลย  (เทคนิคส่วนตัว) จริงๆ แล้วผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้ไปเพาะรากก่อนค่อยนำไปปลูกลงดิน โดยแช่ไว้ในน้ำประมาณ 3 สัปดาห์ แต่อาจต้องเปลี่ยนน้ำเป็นบางวัน

ไม่ว่าจะเป็นการเพาะรากก่อน หรือปักรดดินเลย ผลลัพธ์ที่ได้อาจแตกต่างกันบ้าง (ของผมใช้เวลานานหลายเดือนกว่าจะเห็นใบใหม่แทงจากยอดเก่า แต่ผลลัพธ์ก็น่าสนใจ 

หลังจากลงดินในช่วงแรกๆ ควรนำกระถางวางในที่ร่ม ถูกแดดรำไร ทิ้งไว้จนกระทั่งแทงใบใหม่ และเริ่มนำมาตากแดดและใส่ปุ๋ยเป็นระยะๆ 

ปลูกสับปะรดต้องอดทน

การจะได้รับประทานสับปะรดสักลูก ต้องใช้เวลานานนับปี อาจถึงสองปี แต่ผลลัพธ์ย่อมเป็นที่ภูมิใจมากๆ ส่วนตัวแล้ว ยังอยู่ในระยะกำลังเจริญเติบโตอยู่ ถ้าได้ผลเมื่อไหร่ จะอัพเดทรูปให้ดูกันครับ แต่ที่เขียนบทความนี้ เพราะต้องการแบ่งปันความมหัศจรรย์ของสับปะรดที่สามารถปลูกได้ง่ายๆ 

ความประหลาดใจอย่างหนึ่งของสับปะรดคือ เรื่องราคา ทำไมถึงถูกนัก ในเมื่อการเราจะได้รับประทานก็ต้องใช้เวลานานแรมปี  รู้อย่างนี้แล้ว น่าจะขึ้นราคาได้แล้วครับ

0 Post a Comment

ใส่คำแนะนำในส่วนนี้ได้เลยค่ะ

Recent Posts